“ประกิต หลิมสกุล” สุดหัวใจคือความเป็นกลางและความเป็นธรรม

By Mod

เมื่อชื่อของ “ประกิต หลิมสกุล” เจ้าของนามปากกา “กิเลน ประลองเชิง” แห่งคอลัมน์ “ชักธงรบ” ใน “หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ได้รับการประกาศให้ได้รับ “รางวัลศรีบูรพา” 2565 สร้างความยินดีปรีดาให้แก่แวดวงนักข่าวนักหนังสือพิมพ์นักเขียนกันถ้วนทั่ว           เส้นทางชีวิตสู่การเป็นนักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ของ “ประกิต หลิมสกุล” ที่เหล่าผู้คนในวงการน้ำหมึกยกย่อง เคยได้รับการบอกเล่าหลายครั้งคราว โดยเจ้าตัวเองมักจะถ่อมตนอยู่เสมอว่า “เรียนหนังสือไม่จบ” นั่นยิ่งทำให้เรื่องราวการหล่อหลอมตามวัยและวันมีประเด็นที่น่าสนใจมากมาย           “ประกิต หลิมสกุล” เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ที่จังหวัดสมุทรสงคราม           “นามสกุลหลิม ไม่ใช่หลินที่แปลว่าป่า แต่หลิมแปลว่ารุ่งอรุณแห่งความสุข คุยให้ลูกฟังว่านามสกุลพ่อแปลเพราะนะด้วยความภูมิใจ”           บทสนทนาที่เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นกันเองระหว่าง “ชมัยภร บางคมบาง” ประธานกองทุนศรีบูรพา และ…

บ้าน”ศรีบูรพา” : ๗๐ ปีในวาระ ๑๐๐ ปีชาตกาลของ”ศรีบูรพา”

By Mod

อรรคภาค เล้าจินตนาศรี บ้านศรีบูรพา ลึกเข้าไปในซอยพระนาง ถนนราชวิถี เขตพญาไท ถัดจากสนามหญ้าขนาดย่อมหลังประตูรั้ว บ้านสองชั้นทรงแบบตะวันตกประยุกต์ เด่นด้วยจั่วหลังคาบ้านที่โค้งลาดลงมาอย่างชวนมองหลังนี้ มีอายุครบ ๗๐ ปีพอดี ในวาระที่เจ้าของบ้านฝ่ายชายผู้มีนามว่า กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือนามปากกา “ศรีบูรพา” ครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาล ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ คุณยาย ชนิด สายประดิษฐ์ ศรีภรรยาของ “ศรีบูรพา” และ สุรพันธ์ สายประดิษฐ์ ได้เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของบ้านหลังนี้ว่า เป็นบ้านที่ปลูกขึ้นเองเพื่อเป็นเรือนหอเมื่อได้รับประทานที่ดินจากท่านวรรณ (ม.จ. วรรณไวทยากร วรวรรณ-ต่อมาได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์) เพื่อเป็นของขวัญในการแต่งงาน (๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘)  ที่ดินผืนนี้ท่านวรรณได้รับประทานมาจากพระนางเธอลักษมีลาวัณเมื่อครั้งที่ท่านได้รับพระราชทานที่ดินจากรัชกาลที่ ๖ และเป็นที่มาของชื่อ ซอยพระนาง ซอยเก่าแก่ซอยหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ซึ่งในครั้งนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของเจ้านายและชนชั้นสูงของไทยหลายคน จนกระทั่งสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ทยอยออกขายกันเพราะอยู่ใกล้สนามเป้า ซึ่งเป็นสนามซ้อมยิงปืนและเป็นเป้าหมายสำคัญในการทิ้งระเบิด หลังจากแต่งงานแล้วประมาณปี พ.ศ.…

กราบคารวะ คุณชนิด สายประดิษฐ์

By Mod

โอ ดอกไม้สายประดิษฐ์สถิตสวรรค์มาจากกันจากไกลไปแล้วหรือเคยเกรียวกราวแกร่งกมลจนเลื่องลือเคยหยัดยื้อยืนกล้ามาทุกคราว คือ “จูเลียต” ยอดรักสลักจิตคือผู้หญิงยิ่งสนิททางทุกก้าวคือผู้ก่อความชื่นให้ยืนยาวคือผู้เปลี่ยนความปวดร้าวให้เป็นดี คือ “จูเลียต”ผู้อาจหาญชาญอักษรคือผู้หญิงผู้มาก่อนในทุกที่มีชีวิตเพื่อ “ศรีบูรพา” มานานปีมีชีวีเพื่อ “ศรีบูรพา” มานานไกล คือ “จูเลียต” ผู้เห็นโลกประจักษ์แจ้ง“กาลเวลา” ทุกหนแห่งกระจ่างใสทุกย่างก้าวงามชัดถนัดใจทุกก้าวไปก็ยังชัดถนัดตา ขอดอกไม้สายประดิษฐ์สถิตสวรรค์ขอชื่อยังเฉิดฉันอยู่ในหล้าขอได้พบกันครานี้ “ศรีบูรพา”ขอรักยืนสวรรยาชั่วกาลนาน ชมัยภร  แสงกระจ่างนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๓

อภิวัฒน์สู่สันติ ๑๑๐ ปี ปรีดี พนมยงค์ โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง

By Mod

ปรี ดาด้วยรักล้น              ศักดิ์มนุษย ดี ซื่อแสนบริสุทธิ์           กาจกล้า พนม คิดแต่โรจน์รุด            แด่ชาติ ยงค์ อยู่ยืนหยัดท้า               ฝากไว้นิรันดร์กาล ปรีดีอภิวัฒน์              ยืนจรัสไปชั่วนาน ปรีดีสมัครสมาน        ประคองรักสังคมไทย ปรีดีอภิจิต            …

๙๐ ปี เสนีย์ เสาวพงศ์ –แด่ คุณศักดิชัย บำรุงพงศ์

By Mod

แด่ คุณศักดิชัย  บำรุงพงศ์ “๙๐ ปี  เสนีย์  เสาวพงศ์” ๙๐  ปี          สง่าแม้น                จอมพล เสนีย์           แห่งอักษรถกล       เกียรติก้อง เสาว            รสแก่ปวงชน          คำชื่น พงศ์             หนังสือต่างพร้อง  แผ่พื้นวรรณไสว ทาน…

Mrs Dalloway มีฉบับแปลแล้ว

By Mod

Virginia Woolf(๑๘๘๒ – ๑๙๔๑) ชาวอังกฤษ นักเขียนนวนิยายแนวทดลอง นักวิจารณ์ นักเขียนเรื่องสั้น นักเขียนความเรียง ชั้นนำในยุคสมัยของเธอ เกิดในย่าน Hyde Park Gate ปี ๑๘๘๒ เจ็บป่วยทางจิตใจครั้งแรกจากความตายของพ่อของเธอ Sir Leslie Stephen ในปี ๑๙๐๔ หลังจากนั้นย้ายมาอยู่ย่าน Bloombery เกิดกลุ่มวรรณกรรมในชื่อเดียวกันจากกลุ่มเพื่อนนักเขียนและศิลปินที่คบหา รวมทั้งร่วมกับสามี Leonard Woolf ตั้งสำนักพิมพ์ Hogarth Press ที่มีชื่อเสียงขึ้นในปี ๑๙๑๗ ด้วย เธอทำงานในช่วงสงบจากการเจ็บป่วยทางจิตใจเป็นระยะๆ มีผลงานอย่างต่อเนื่อง นวนิยายสองเรื่องแรกยังเป็นในรูปแบบตามนิยมกันมาก่อนหน้า จนเมื่อ Jacob’s Room ปรากฏขึ้นในปี ๑๙๒๒ จึงได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นงานที่มีนวัตการอย่างสูง จากนั้น Mrs Dolloway (๑๙๒๕) ก็ได้รับการวิจารณ์ว่าพัฒนาขึ้นอย่างมากด้วยวิธีเขียนที่ใช้บทสนทนาภายใน (Interior Monologue) หรือกระแสสำนึก (Stream of Consciousness) และเน้นบุคลิกตัวละครมากกว่าเค้าโครงเรื่อง…